วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

หินน้ำมัน


หินน้ำมัน

v  หินน้ำมัน (oil shale) คือ
                หินตะกอนชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วยอินทรียวัตถุในรูปของสารที่เรียกว่า เคอโรเจน (Kerogen) และเคอโรเจนนี้เอง เมื่อถูกทำให้ร้อนด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง ประมาณ 500องศาเซลเซียส จะให้น้ำมันและก๊าซไฮโดรคาร์บอนออกมา สำหรับการเกิดของหินน้ำมันนั้น เกิดจากพวกพืชและสัตว์ที่ตายแล้ว ซึ่งได้สะสมรวมกันกับเศษหินดินทรายต่าง ๆ อยู่ในที่ที่เคยเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ทั่วไปมาก่อน เมื่อเวลาได้ผ่านไปนานนับล้านปี พวกอินทรียวัตถุอันได้แก่ ซากพืชและสัตว์ต่าง ๆ ดังกล่าวนั้น ก็จะแปรสภาพเป็นสารคล้ายยางเหนียว ๆ หรือที่เรียกว่า คีโรเจน ส่วนเศษหินดินทรายต่าง ๆ ซึ่งมีสารคีโรเจนอยู่ด้วยนี้ ก็แปรสภาพเป็นหินตะกอนออกสีเข้ม เรียกว่า หินน้ำมัน
                คือ เป็นหินตะกอนเนื้อละเอียดขนาดตั้งแต่หินทรายแป้งลงมา ส่วนใหญ่เป็นหินดินดาน ที่ประกอบด้วยอินทรียวัตถุในรูปของสารที่เรียกว่า เคอโรเจนหรือคีโรเจน (Kerogen) และคีโรเจนนี้เอง เมื่อถูกทำให้ร้อนด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง ประมาณ 500 องศาเซลเซียส จะให้น้ำมันและก๊าซไฮโดรคาร์บอนออกมา สำหรับการเกิดของหินน้ำมันนั้น เกิดจากพวกพืชและสัตว์ที่ตายแล้ว ซึ่งได้สะสมรวมกันกับเศษหินดินทรายต่าง ๆ อยู่ในที่ที่เคยเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ทั่วไปมาก่อน เมื่อเวลาได้ผ่านไปนานนับล้านปี พวกอินทรียวัตถุอันได้แก่ ซากพืชและสัตว์ต่าง ๆ ดังกล่าวนั้น ก็จะแปรสภาพเป็นสารคล้ายยางเหนียว ๆ หรือที่เรียกว่า คีโรเจน ส่วนเศษหินดินทรายต่าง ๆ ซึ่งมีสารคีโรเจนอยู่ด้วยนี้ ก็แปรสภาพเป็นหินตะกอนออกสีเข้ม เรียกว่า หินน้ำมัน
                หินน้ำมัน  เป็นหินตะกอนเนื้อละเอียดที่มีการเรียงตัวเป็นชั้นบางๆ  ส่วนใหญ่เป็นหินดินดาน เกิดจากการทับทมของสารอินทรีย์อยู่ในที่ที่เคยเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่หรือทะเลสาบ ซึ่งสะสมรวมกับเศษหินดินทรายต่างๆ และถูกอัดแน่นภายใต้ผิวโลกเป็นเวลาหลายล้านปี มีลักษณะเป็นสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลไหม้ มีสารประกอบอินทรีย์ที่สำคัญ  คือ เคอโรเจน (Kerogen) แทรกอยู่ระหว่างชั้นหินตะกอน  ซึ่งเมื่อถูกทำให้ร้อนด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งประมาณ 500     องศาเซลเซียส  จะให้น้ำมันและก๊าซไฮโดรคาร์บอนออกมา ซึ่งสามารถนำไปกลั่นเป็นผลิตภัณฑ์น้ำมันหลายประเภทเช่นเดียวกับการกลั่นน้ำมันดิบ
v  สมบัติทางกายภาพ          
   
   
       หินน้ำมันโดยทั่งไปมีความถ่วงจำเพาะ 1.6 – 2.5 หินน้ำมันคุณภาพดีมีสีน้ำตาลไหม้จนถึงสีดำ มีลักษณะแข็งและเหนียวเมื่อนำหินน้ำมันสกัดด้วยความร้อนที่เพียงพอ เคอโรเจนจะสลายตัวให้น้ำมันหินซึ่งมีลักษณะคล้ายน้ำมันดิบ ถ้ามีปริมาณเคอโรเจนมากก็จะได้น้ำมันหินมาก การเผาไหม้น้ำมันหินจะมีเถ้ามากกว่าร้อยละ 33 โดยมวลในขณะที่ถ่านหินมีเถ้าน้อยกว่าร้อยละ 33
สามารถพบได้ตามแอ่งแผ่นดินยุคเทอร์เชียรี่ทั่วโลก สำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้ในตอนบนของประเทศ โดยเฉพาะที่แหล่งแม่ปะใต้ แอ่งแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ซึ่งมีปริมาณสำรอง 390 ล้านตัน จากทั้งแอ่งที่มีปริมาณหินน้ำมันสะสม 620 ล้านตัน



ตัวอย่างหินน้ำมันจากแหล่งแม่ปะใต้ ที่ระดับความลึก 235.5 เมตร 
จากผิวดิน


v  ความแตกต่างระหว่างหินน้ำมันและถ่านหิน
                สิ่งที่หินน้ำมันไม่เหมือนกันกับถ่านหิน คือ หินน้ำมันมีปริมาณของธาตุต่างๆ และเถ้าสูงมาก จึงไม่นิยมนำมาเผาเป็นเชื้อเพลิงโดยตรง แต่จะมีการกลั่นเอาน้ำมันออกมามากกว่า เพราะมีความสะดวกในการกำจัดกากที่เหลือได้สะดวกกว่า
  
v  การเกิดหินน้ำมัน       
                หินน้ำมันแต่ละแหล่งในโลกพบว่ามีช่วงอายุตั้งแต่ 3 - 600 ล้านปี เกิดจากการสะสม และทับถมตัวของซากพืชพวกสาหร่าย และสัตว์พวกแมลง ปลา และสัตว์เล็กๆอื่นๆ ภายใต้แหล่งน้ำ และภาวะที่เหมาะสม ซึ่งมีปริมาณออกซิเจนจำกัด มีอุณหภูมิสูง และถูกกดทับจากการทรุดตัวของเปลือกโลกเป็นเวลานับล้านปี ทำให้สารอินทรีย์ในซากพืช และสัตว์เหล่านั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงเกิดเป็นสารประกอบเคอโรเจน ผสมคลุกเคล้ากับตะกอนดินทรายที่ถูกอัดแน่นกลายเป็นหินน้ำมันซึ่งหินน้ำมันจะคล้ายกับหินที่เป็นแหล่งกำเนิดปิโตรเลียม แต่หินน้ำมันมีปริมาณเคอโรเจนมากถึงร้อยละ 40
การตกตะกอนของชั้นสาหร่ายภายในชั้นหินตะกอน   มีการเรียงลำดับดังนี้         
                1.  การอัดตัว (compaction) ที่เกิดจากน้ำหนักกดทับของชั้นหินตะกอนบนทรากสารอินทรีย์
                2.  การระเหยไปของน้ำที่อยู่ในชั้นพีทที่อยู่ระหว่างเศษพืช
                3.  การกดทับต่อไปเรื่อยๆ น้ำก็จะถูกขับออกไปจากโครงสร้างในเซลของพืช
                4.  ผลอันเนื่องมาจากความร้อน และน้ำหนักที่เกิดจากการกดทับ น้ำก็จะถูกขับออกจากโมเลกุลของพืช
                5.  เกิดขบวนการ methanogenesis ซึ่งเป็นการเกิดขบวนการที่สามารถเทียบได้ กับการเผาถ่านไม้ภายใต้ความกดดัน ที่ทำให้เกิดก๊าซมีเทนขึ้นมา ทำให้มีการผลักไฮโดรเจน และคาร์บอนบางส่วนออกไป รวมทั้งออกซิเจนบางส่วนที่ยังเหลืออยู่ (เช่น น้ำ) ออกไป
                6.  เกิดขบวนการ dehydrogenation เป็นการเกิดการย้าย hydroxyl groupsจากเซลลูโลส และโมเลกุลของพืชต่างๆ กลายเป็นผลผลิตของ hydgen-reduced coals
          แต่อย่างไรก็ตาม ความร้อนและความกดดันที่เกิดในขบวนการเกิดหินน้ำมันนี้ ไม่สูงเท่ากับที่ทำให้เกิดปิโตรเลียม บางครั้งหินน้ำมันถูกเรียกว่า "หินที่ไหม้ไฟ ,  the rock that burns"

 

 แต่ในทางธรณีวิทยานั้น หินน้ำมันเกิดจากการตกตะกอนของสารอินทรีย์ในสภาพแวดล้อมที่เป็น
ทะเลสาบ (lake) 
 - ทะเลสาบน้ำกร่อย (lagoon) ที่ถูกปิดล้อมด้วยสันทราย (sand bar) หรือแนวปะการัง (reef) lagoon) ทะเลสาบ และบึงที่ถูกปิดล้อมต่างๆ (oxbow lakes, muskegs) 
           ดังนั้น จึงเป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปแล้วว่า หินน้ำมันนั้น เกิดจาการสะสมตัวของทรากสาหร่าย (algal debris) เมื่อพืชเหล่านั้นตายในสภาพแวดล้อมที่เป็นทะเลสาบพีท (peat swamp environments)
  -  ซากสารอินทรีย์ (biomass) เหล่านั้นจึงตกอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีน้ำ โดยไม่มีออกซิเจน (anaerobic aquatic environments) เมื่อปริมาณออกซิเจนที่มีอยู่น้อยมาก จึงช่วยให้สารอินทรีย์ไม่มีการย่อยสลาย (decay) ไปอย่างสมบูรณ์แบบโดยแบคทีเรีย และขบวนการออกซิเดชั่น
                ซากสารอินทรีย์ที่รอดพ้นจากการย่อยสลาย จึงถูกเก็บรักษาไว้กลายเป็นหินน้ำมัน โดยสภาพแวดล้อมดังกล่าว ดำรงอยู่ต่อมาอย่างยาวนาน จนสามารถสร้างชั้นหินตะกอนที่มีการสะสมตัวของสาหร่ายเหล่านั้น

v  หินน้ำมันมีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ประเภทคือ
 ประเภทที่ 1    สารประกอบอนินทรีย์
ได้แก่ แร่ธาตุต่างๆที่ผุพัง มาจากชั้นหินโดยวิธีการทางกายภาพ และเคมีประกอบด้วย แร่ธาตุที่สำคัญ 2 กลุ่มใหญ่ๆคือ
กลุ่มแร่ซิลิเกต และกลุ่มแร่   ได้แก่  ควอตซ์  เฟลสปาร์  เคลย์ 
กลุ่มแร่คาร์บอเนต   ได้แก่  แคลไซต์โดโลไมต์
         ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณแร่ธาตุในหินน้ำมัน ตามแต่สภาพการกำเนิด การสะสมตัวของหินน้ำมัน และสภาพแวดล้อม
 ประเภทที่ 2    สารประกอบอินทรีย์
 ประกอบด้วยบิทูเมน และเคอโรเจน
                 บิทูเมน ( Bitumen )  เป็นสารอินทรีย์ที่อยู่ในหินตะกอนเป็นของแข็งหรือค่อนข้างแข็งสามารถละลายสารอินทรีย์ได้  เช่น  เบนซีน เฮกเซน และตัวทำละลายอินทรีย์ชนิดอื่นๆ จึงแยกออกจากหินน้ำมันได้ง่าย
ส่วนเคอโรเจนไม่ละลายในตัวทำละลาย หินน้ำมันที่มีสารอินทรีย์ในปริมาณสูงจัดเป็นหินน้ำมันคุณภาพดี เมื่อนำมาสกัดควรให้น้ำมันอย่างน้อยร้อยละ





               
50 ของปริมาณสารอินทรีย์ที่มีอยู่ แต่ถ้ามีสารอนินทรีย์ปะปนอยู่มากจะเป็นหินน้ำมันที่มีคุณภาพต่ำ





v  กรรมวิธีของการสกัดหรือผลิตน้ำมันจากหินน้ำมัน
             เริ่มต้นด้วยการเปิดผิวดิน เพื่อขุดตักเอาหินน้ำมันออกมาบดให้ได้ขนาด แล้วป้อนไปยังโรงงาน ผ่านกรรมวิธีต่าง ๆ เพื่อเปลี่ยนรูปของสารเคอโรเจนให้กลายเป็นไอของไฮโดร์คาร์บอน ไอของไฮโดรคาร์บอนนี้ก็จะถูกแยกออกไป ทำให้กลายเป็นของเหลว และนำเอาของเหลวที่ได้นำไปทำการกลั่น ณ โรงกลั่นต่อไป
                    กรรมวิธีของการสกัดหรือผลิตน้ำมันจากหินน้ำมัน เริ่มต้นด้วยการเปิดผิวดิน เพื่อขุดตักเอาหิน น้ำมันออกมาบดให้ได้ขนาด แล้วป้อนไปยังโรงงาน ผ่านกรรมวิธีต่าง ๆ เพื่อเปลี่ยนรูปของ
สารคีโรเจนให้กลายเป็นไอของไฮโดร์คาร์บอน ไอของไฮโดรคาร์บอนนี้ก็จะถูกแยกออกไป
ทำให้กลายเป็นของเหลว และนำเอาของเหลวที่ได้นำไปทำการกลั่น ณ โรงกลั่นต่อไปจาก
กรรมวิธีดังกล่าว จะเห็นได้ว่า อุตสาหกรรมการสกัดน้ำมันจากหินน้ำมัน จะก่อให้เกิดปัญหา
สภาพมลภาวะตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของฝุ่นละอองที่ปลิวขึ้นไปสู่บรรยากาศ
และการทิ้งกากหินน้ำมันที่ผ่านกรรมวิธีแล้ว
การทำน้ำมันจากหินน้ำมัน มี แบบ คือ
1.  การทำเหมือง (mining) เป็นการทำเหมืองทั้งแบบเหมืองเปิด และเหมืองใต้ดิน เมื่อได้หินน้ำมันมาแล้ว จึงขนส่งไปยังโรงผลิตน้ำมัน โดยเผาหินน้ำมันที่อุณหภูมิ 450-500 องศาเซลเซียส
2.  in-situ คือการเผาหินน้ำมันที่อยู่ภายในแหล่งใต้ดินโดยตรง โดยการเจาะให้เกิดรอยแตกในหินน้ำมัน แล้วจึงให้ความร้อนเข้าไปในชั้นหินน้ำมัน ทำให้เกิดเป็นก๊าซ และน้ำมันออกมา
บริษัท Shell Oil Company เคยมีการวิจัย ชื่อ Mahogany Research Project โดยการใช้ไฟฟ้าในการให้ความร้อน โดยวิธี in-situ ที่รัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา เมื่อได้ก๊าซ และน้ำมันออกมาจากชั้นหินน้ำมันใต้ดินแล้ว จึงมีการปั๊มผลผลิตขึ้นสู่พื้นดินต่อไป 
                ในการผลิตน้ำมันจากหินน้ำมันมีข้อด้อยคือ  ก่อให้เกิด greenhouse gasมากเป็น 4 เท่า ของการผลิตน้ำมันจากแหล่งปิโตรเลียมคีโรเจนในหินน้ำมันสามารถแยก/นำออกมาได้ ด้วยขบวนการทางเคมีโดยการเผาเพื่อให้ความร้อนเข้าไป (pyrolysis)ระหว่างการเกิดขบวนการ pyrolysis นั้น หินน้ำมันจะถูกเผาด้วยความร้อนที่สูงถึง 450-500 องศาเซลเซียส ภายใต้ภาวะที่ไร้อากาศ ทำให้คีโรเจนกลั่นตัวออกมากลายไปเป็นน้ำมัน และสามารถทำการแยกออกมาได้ ขบวนการนี้เรียกว่า "retorting"  แต่ในบางครั้ง มีการนำเอาหินน้ำมันมาเผาโดยตรง เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงคุณภาพต่ำ (low grade fuel)            




                ปัจจุบันนี้ มีการทำเหมืองหินน้ำมัน ที่ ประเทศแอสโทเนีย รัสเซีย บราซิล และจีน แต่อย่างไรก็ตามการผลิตน้ำมันจากหินน้ำมันนับวันมีแต่จะลดลง เพราะเหตุผลทางด้านเศรษฐศาสตร์ และมลภาวะที่เกิดจากการเผาหินน้ำมันรวมทั้งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่เกิดจากการทำเหมืองหินน้ำมันแบบเหมืองเปิดซึ่งมีผลกระทบ เช่นเดียวกับการทำเหมืองเปิดจากทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ

v  แหล่งหินน้ำมัน
                การสำรวจหินน้ำมันในประเทศเริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2478 โดยเริ่มสำรวจแหล่งหินน้ำมันที่ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ซึ่งเป็นแหล่งหินน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน (การสำรวจธรณีวิทยาและการเจาะสำรวจทั่วแอ่งแม่สอด พบว่า ชั้นหินน้ำมันแผ่ปกคลุมพ้นที่ประมาณ 200 ตารากิโลเมตร) นอกจากนี้ยังมีแหล่งถ่านหินที่มีชั้นหินน้ำมันเกิดร่วมอีกด้วยหลายแห่ง  โดยเฉพาะทางภาคเหนือ ได้แก่ แอ่งลี้ จังหวัดลำพูน แอ่งแม้แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่  แอ่งปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน  แอ่งแจ้ห่ม แอ่งแม่ตีบ จังหวัดลำปาง เป็นต้น  และจากการศึกษาวิเคราะห์สกัดหินน้ำมัน พบว่า ให้ปริมาณน้ำมันเฉลี่ยโดยประมาณ 5%โดยน้ำหนัก หรือประมาณ 52 ลิตรต่อหินน้ำมัน เมตริกตัน ส่วนแหล่งหินน้ำมันอื่นๆที่พบในปัจจุบัน และอาจสามารถสกัดและผลิตน้ำมันได้คุ้มค่า ได้แก่ แหล่งหินน้ำมันในสหรัฐอเมริกา ซึ่งครอบคลุมบริเวณของมลรัฐโคโรลาโด ไวโอมิ่ง ยูท่าห์ โดยสามารถให้น้ำมันถึง 240 ลิตรต่อเมตริกตัน แหล่งที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่ง และนับว่าเป็นประเทศที่สามารถผลิตและสกัดน้ำมันจากหินน้ำมันเป็นอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดในโลก ได้แก่ แหล่งในประเทศจีน โดยหินน้ำมันสามารถให้น้ำมันได้ถึง 320 ลิตรต่อเมตริกตัน
                ซึ่งปัจจุบันการนำหินน้ำมันมาใช้ประโยชน์มีต้นทุนที่ค่อนข้างสูง จึงยังไม่เป็นที่นิยมมากนักจากการสำรวจแหล่งหินน้ำมันระหว่างปี 2517 – 2526 พบแหล่งหินน้ำมันจำนวน แห่ง มีปริมาณสำรองทางธรณีวิทยารวมกันไม่น้อยกว่า 11,000 ล้านเมตริกตันและThe United States Office of Naval Petroleum and Oil Shale Reserves ได้ทำการประมาณการปริมาณสำรองหินน้ำมันของโลก ว่ามีน้ำมัน ถึง 1,662 พันล้านบาเรล โดยที่ในประเทศสหรัฐอเมริกานั้น มี 1,200 พันล้านบาเรลประมาณ 52 ลิตรต่อหินน้ำมัน 1เมตริกตัน

v  การใช้ประโยชน์จากหินน้ำมัน
1.  การใช้หินน้ำมันเป็นเชื้อเพลิงโดยตรง คือ การนำหินน้ำมันมาบดเป็นผงแล้วพ่นเข้าไปใน เตาที่ได้รับการออกแบบโดยเฉพาะเมื่อพ่นเข้าไป แล้วจะเกิดการเผาไหม้โดยตรง       พลังงานความร้อนที่ได้รับจากการเผาไหม้นี้สามารถนำไปผลิตกระแสไฟฟ้าได้
2.  การนำหินน้ำมันมาสกัดเพื่อให้ได้น้ำมันหินออกมาและนำไปใช้ประโยชน์ได้
3.  กากที่เหลือจากการนำหินน้ำมันมาบด และเผาไหม้ให้พลังงานโดยวิธีในข้อ 1 สามารถนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้าง เช่น ผสมปูนซีเมนต์ หรืออิฐก่อสร้าง เป็นต้น               
     ในด้านการนำหินน้ำมันมาเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้านั้นการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ โดย ความร่วมมือของกรมทรัพยากรธรณี กำลังศึกษาความ เหมาะสม และความเป็นไปได้ในการนำหินน้ำมันมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า เพื่อเป็นแหล่งพลังงานทดแทนอีกรูปแบบหนึ่ง ภายหลังจากการเกิดวิกฤติการณ์น้ำมันเมื่อปลายปี 2516  เป็นต้นมา 
                นอกจากนี้หินน้ำมันมาใช้เป็นแหล่งพลังงานได้เช่นเดียวกับถ่านหิน ตั้งแต่ศตวรรษที่ 19ต่อมามีผู้ศึกษาหาวิธีสกัดน้ำมันจากหินน้ำมันจนสามารถผลิตน้ำมันหินใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆได้นอกจากนี้การทำเหมืองเพื่อผลิตหินน้ำมันเป็นหลักแล้วยังมีผลพลอยได้จากแร่ธาตุส่วนน้อยที่เกิดร่วมกับหินน้ำมันและสารประกอบที่เกิดขึ้นจากกระบวนการสกัดน้ำมันคือ  ยูเรเนียมวาเนเดียม  สังกะสี   โซเดียม  คาร์บอเนตแอมโมเนียม   ซัลเฟตและกำมะถันน้ำมัน และผลพลอยได้เหล่านี้สามารถนำไปใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆหลายชนิดเช่น  ใยคาร์บอนคาร์บอน ดูดซับคาร์บอนลิกอิฐและปุ๋ย
                ข้อคำนึงเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การทำเหมืองหินน้ำมันแบบเหมืองเปิดมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ เช่นเดียวกับการทำเหมืองเปิดจากทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ
                ส่วนในขบวนการกลั่น ก็จะเกิด เถ้า และสิ่งเหลือทิ้งต่างๆ  นอกจากนี้หินน้ำมันยังมีการขยายตัว ถึง 30% หลังจากการเผา ทำให้เกิดกากที่เหลือจำนวนมากมายมหาศาล และในขบวนการดังกล่าวต้องมีการใช้น้ำเป็นจำนวนมาก จึงต้องมีแหล่งน้ำสำรองให้เพียงพอด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามขณะนี้ วิธี in-situ เป็นวิธีที่น่าจะมีความจูงใจที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น